การตั้งค่าอุปกรณ์ EnGenius Wireless AP+WDS / WDS Bridge / CB / CR / Router / Repeater

โพสเมื่อ 13/01/2015 21:01 | อัพเดท 25/02/2015 11:20

ขั้นตอนและวิธีการตั้งค่าในหัวข้อนี้จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ตามที่แสดงต่อไปนี้

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point+WDS/WDS Bridge/Repeater คือ

  • EAP300v2 (B/G/N)
  • EAP350 (B/G/N)
  • EAP600 (A/B/G/N)

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point+WDS/WDS Bridge/ Client bridge/Repeater คือ

  • ECB600 (A/B/G/N)

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point+WDS/WDS Bridge/Client bridge/Client Router/AP Router/Repeater (Full 7 mode functions) คือ

  • ECB350 (B/G/N)

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point /Repeater คือ

  • ERA150 (B/G/N)

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point+WDS/WDS Bridge/Client bridge/Client Router คือ

  • ENS200 (B/G/N)
  • ENS200EXT (B/G/N)
  • ENS202 (B/G/N)
  • ENS202EXT (B/G/N) + Repeater
  • ENS500 (A/N)
  • ENS500EXT (A/N)
  • ENH200 (B/G/N)
  • ENH200EXT (B/G/N)
  • ENH202 (B/G/N)
  • ENH210 (B/G/N)
  • ENH210EXT (B/G/N)
  • ENH500 (A/N)
  • EnStation2 (B/G/N)
  • EnStation5 (A/N)

อุปกรณ์ที่รองรับการทำงานแบบ Access point+WDS/WDS Bridge/Client bridge คือ

  • ENH700EXT (A/B/G/N)

 

เนื่องจากค่าดั้งเดิมของตัวอุปกรณ์ EnGenius ไม่ได้จ่าย IP address จึงต้องตั้งค่า IP ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน (192.168.1.x)

แล้วการ Fix IP ทำอย่างไร?

สำหรับ Windows 7 ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

คลิก Start > Control Panel > Network And Sharing Center

คลิกขวาที่ Local Area Network เลือก Properties

เลือก Internet Protocol Version 4 (TCP/IPv4) คลิกปุ่ม Properties

 

 

เลือกตัวเลือก Use the following IP address:

IP address: 192.168.1.10

Subnet mark: 255.255.255.0

คลิก OK และคลิก Close

 

ใช้โปรแกรม Web browser เพื่อเข้าสู่การตั้งค่า

พิมพ์ 192.168.1.1

เมื่อขึ้นหน้าจอ Log-in ให้ใส่

User name: admin

Password: admin

จะเข้าสู่หน้าจอสถานะของอุปกรณ์

 

 

* การตั้งค่าอุปกรณ์จะสามารถใช้งานได้ต่อเมื่อตั้งค่าทุกหัวข้อที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว ให้ไปที่หัวข้อ Save/Reload กดปุ่ม Save & Accept อุปกรณ์จะทำการบันทึกค่าที่ตั้งไว้และ Restart

 

IP Settings

ให้ทำการเปลี่ยน IP Address ของตัวอุปกรณ์เมื่อตั้งค่าทั้งหมดเสร็จเรียบร้อยก่อนนำไปเชื่อมต่อกับระบบ (สำหรับผู้ใช้ทั่วไป แนะนำให้เปลี่ยนจาก 192.168.1.1 เป็น 192.168.1.2 หรืออื่นๆ เพื่อป้องกัน IP ชนกับ Router Modem หรืออุปกรณ์อื่นๆ ของท่าน)

 

 

Wireless Advanced Settings
ส่วนการตั้งค่าที่สำคัญมีดังนี้
Data Rate: ใช้ในการกำหนดความเร็วในการรับส่งข้อมูล ซึ่งในระยะทางไกลไม่แนะนำให้กำหนดตายตัว เพราะระดับสัญญาณที่อ่อนอาจจะรักษาระดับความเร็วไว้ไม่ได้
Transmit Power: ใช้กำหนดกำลังส่งของอุปกรณ์ (ค่าสูงสุดที่เหมาะสมคือค่าที่น้อยกว่าค่าสูงสุด 2 steps)

  • Obey Regulatory Power: ถ้าเลือกไว้ จะสามารถตั้งกำลังส่งได้ตามข้อกำหนดของ Country/Region ที่เลือกไว้เท่านั้น

Distance: ใช้กำหนดห้วงเวลาในการยืนยันการรับส่งข้อมูล เมื่อระยะทางไกลขึ้น ควรตั้งค่าให้มากขึ้นตามระยะทางที่ใช้จริง

 

Management VLAN

เลือก Specified VLAN ID และใส่ค่า MGMT VLAN (สำหรับระบบ Network ขององค์กรหรือผู้ให้บริการเท่านั้น)

 

 

SNMP Settings

ใส่ค่า SNMP ตามที่ระบบใช้งาน

 

 

Time Settings

ใช้ตั้งค่าเวลาให้อุปกรณ์ทั้งแบบตั้งเวลาเอง หรืออ้างอิงจาก NTP Server

 

 

Schedule (มีใน Firmware รุ่นใหม่)

 

สามารถกำหนดการ Reboot หรือเปิดสัญญาณ Wireless ของอุปกรณ์ได้ตามวันและเวลาที่กำหนด

 

LED Control (For EAP350/600 only)

ใช้เปิด/ปิดไฟแสดงผลที่ตัวอุปกรณ์

 

 

การ Upgrade firmware
เข้าหัวข้อ Firmware Upgrade
กดปุ่ม Browse... เพื่อเลือกไฟล์ Firmware (สามารถ Download ได้จาก www.nvk.co.th)
กดปุ่ม Upload และ Upgrade รอประมาณ 3 นาที

*การ Upgrade firmware ของอุปกรณ์รุ่นนี้จะเป็นการอัพ Kernel ของตัวอุปกรณ์ ซึ่งค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้จะยังคงอยู่

 

 

การเก็บ/เรียกคืน/ล้างค่าการติดตั้ง และรีสตาร์ท
เข้าหัวข้อ Backup/Restore Settings
จะมีหัวข้อ เก็บค่า, เรียกค่าที่เก็บไว้, และล้างค่าอุปกรณ์ใหม่

 

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น Access point
เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ Access Point เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

Wireless Network

Wireless Mode: ใช้กำหนดมาตรฐานการรับส่งข้อมูล (B/G/N) ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน

(ตัวอักษรสีแดงจะแจ้งเตือนเมื่อใช้ 802.11N คู่กับ Security ที่นอกเหนือจาก AES)

Channel: ใช้เปลี่ยนช่องสัญญาณ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวน

Current Profiles: เป็น Profile ของ SSID ที่อ้างอิงกับ VLAN ID ซึ่งจะใช้งานคู่กับ Switch L2 แต่ถ้าใช้เป็น AP ธรรมดา ให้จัดการที่รายการแรกเท่านั้น

Isolation: เลือกเป็นเครื่องหมายถูก ถ้าต้องการให้ SSID ใดใช้ VLAN ที่ตั้งไว้ (เว้นว่างคือ Untagged VLAN)

 

 

การจัดการ Profile (SSID)

เมื่อกดปุ่ม Edit หลัง Profile แล้ว จะขึ้นหน้าจอและหัวข้อดังนี้

SSID: ตั้งชื่อ Wireless

VLAN ID: อ้างอิงจาก Switch L2

Suppressed SSID: ใช้ทำการซ่อน SSID (ถ้าต้องการ ให้ใช้หลังจากทำการเชื่อมต่อเรียบร้อยแล้ว)

Station Separation: ป้องกัน Client ที่ใช้ AP ตัวเดียวกันมองเห็นกันเอง (ใช้ AP เป็นทางลัดเชื่อมหากัน)

Wireless Security

Security Mode: WEP, WPA-PSK, WPA2-PSK, WPA-PSK Mixed

  • WEP เป็นการเข้ารหัสแบบทั่วไป
    • Input Type: Hex ตัวเลขล้วนๆ หรือ ASCII ตัวอักษรและ/หรือผสมตัวเลข
    • Key Length: ความยาวของรหัส
    • Default Key: เลือกว่าจะใช้รหัสชุดใด
  • WPA-PSK เป็นการเข้ารหัสขั้นสูง
    • Pass phrase: รหัสตัวอักษรและ/หรือผสมตัวเลขจำนวน 8 ตัวขึ้นไป
  • WPA2-PSK เป็นการเข้ารหัสขั้นสูงสุด แต่ Client รุ่นเก่าบางเครื่องจะใช้งานไม่ได้
    • Pass phrase: รหัสตัวอักษรและ/หรือผสมตัวเลขจำนวน 8 ตัวขึ้นไป
  • WPA-PSK Mixed เป็นการเข้ารหัสรวมกันระหว่างขั้นสูงและขั้นสูงสุด ขึ้นอยู่กับ Client
    • Pass phrase: รหัสตัวอักษรและ/หรือผสมตัวเลขจำนวน 8 ตัวขึ้นไป
  • ส่วนที่ไม่มีคำว่า –PSK ต่อท้าย คือการเข้ารหัสที่อ้างอิงจาก Radius Server

 

 

Wireless MAC Filter
ใช้กำหนดการอนุญาตเข้าใช้งาน AP ของเครื่อง Client โดยมี 2 ประเภทคือ
Allow MAC:   รายชื่อที่อนุญาตให้เข้าใช้งาน
Deny MAC:  รายชื่อที่ไม่อนุญาตให้เข้าใช้งาน

โดยเลือกประเภทและกำหนด MAC Address กดปุ่ม Add

เมื่อกำหนดรายชื่อครบแล้ว กดปุ่ม Accept

 

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น WDS AP

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ WDS > Access Point เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

ส่วนการตั้งค่าหลักจะเหมือนกับรูปแบบ Access Point

 

WDS Link Settings
เป็นการตั้งค่าให้ AP เป็น Repeater ส่งสัญญาณต่อให้กับ AP ที่ทำการระบุ MAC Address ไว้ โดยเลือก Enable และใส่ค่า MAC Address ของ AP ที่ต้องการและกดปุ่ม Accept

เข้าหัวข้อ Spanning Tree Settings และเลือก On

เงื่อนไขการตั้งค่า WDS
- ต้องตั้งค่าช่องสัญญาณ (Channel) ของ AP ที่ต้องการใช้งานให้ตรงกัน
- ห้ามใส่ค่า MAC Address เป็นลักษณะของ Loop วงกลม เช่น AP1-AP2, AP2-AP3, AP3-AP1

 

 

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น WDS Bridge
ฟังก์ชั่น WDS Bridge จะเป็นฟังก์ชั่นที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง AP+WDS และ Client Bridge กล่าวคืออุปกรณ์จะทำการ Bridge ระหว่างกัน แต่ใช้อัลกอริทึมแบบ WDS ซึ่งจะไม่กระจายสัญญาณออกมา

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ WDS > Bridge เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

วิธีการเชื่อมต่อโดยใช้ฟังก์ชั่น WDS Bridge

  1. เข้าหัวข้อ WDS Link Settings เลือก Enable และใส่ค่า MAC Address ของ AP ที่ต้องการและกดปุ่ม Accept
    • ถ้าต้องการใส่รหัส ให้ใส่รหัสให้ตรงกัน


  2. เข้าหัวข้อ Wireless Network เพื่อเลือกมาตรฐาน/ความถี่ และช่องสัญญาณ
  3. เข้าหัวข้อ Spanning Tree Settings และเลือก On

 

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น Client Bridge
ฟังก์ชั่น Client Bridge จะทำงานคล้ายกับ Wireless USB adaptor เพียงแต่อุปกรณ์จะต่อเข้าพอร์ต RJ-45 (LAN) แทนพอร์ต USB คือการดึงสัญญาณจาก Wireless Access Point มาออกสาย LAN เข้าระบบนั่นเอง

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ Client Bridge เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

วิธีการเชื่อมต่อโดยใช้ฟังก์ชั่น Client Bridge

  1. เข้าหัวข้อ Wireless Network
  2. กดปุ่ม Site Survey เลือก Access Point ที่ต้องการดึงสัญญาณโดยกดเลือก MAC ที่ BSSID
  3. ถ้า Access Point มีการเข้ารหัสไว้ อุปกรณ์จะตรวจจับอัตโนมัติว่าเป็น Encryption แบบใด (WEP/WPA/WPA2) และให้ใส่รหัสให้ตรงกับ Access Point




  4. ถ้าต้องการ ให้ Client Bridge เกาะสัญญาณ Access Point ตัวนั้นตลอด ให้กดเลือกที่ Prefer BSSID
  5. หากระบบ Network ไม่สามารถใช้งานได้ ให้เลือกใช้รูปแบบ WDS > Station (Transparent Bridge)

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น Repeater
ฟังก์ชั่น Repeater เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณจาก Access Point และนำมาทวนสัญญาณต่อเพื่อเพิ่มความคลอบคลุมของสัญญาณ

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ Repeater เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

วิธีการเชื่อมต่อโดยใช้ฟังก์ชั่น Repeater

ขั้นตอนการตั้งค่าทั้งหมดจะเหมือนกับฟังก์ชั่น Client Bridge ทุกประการ

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น AP Router
ฟังก์ชั่น AP Router เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณ LAN จาก Modem และทำการเชื่อมต่อเพื่อกระจายเป็นสัญญาณ Wireless

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ Access Point Router เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

เมื่อกดปุ่ม Apply แล้ว ให้เชื่อมต่อผ่าน Wireless เพื่อเข้าตั้งค่าต่อไป เนื่องจากพอร์ต LAN จะเปลี่ยนหน้าที่เป็น WAN และจะเข้าไม่ได้

 

 

วิธีการเชื่อมต่อโดยใช้ฟังก์ชั่น AP Router

  1. เข้าหัวข้อ WAN Settings เพื่อเลือก Internet Connection Type
    • DHCP กรณีที่ Modem เป็น Router หรือระบบจ่าย IP อยู่แล้ว
    • PPPoE กรณีที่ Modem เป็น Bridge


  2. ขั้นตอนการตั้งค่าในส่วนของ Access Point จะเหมือนกับฟังก์ชั่น Access Point ทุกประการ

 

การตั้งค่าอุปกรณ์เป็น Client Router
ฟังก์ชั่น Client Router เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณ WAN จาก Access Point และทำการเชื่อมต่อเพื่อต่อสัญญาณออกทางพอร์ต LAN ซึ่งฟังก์ชั่นนี้จะใช้ในกรณีเชื่อมต่อกับ Wireless ISP เช่น Truewifi

เข้าหัวข้อ Operation Mode
เลือกหัวข้อ Client Router เลือก Country/Region เป็น Thailand และกดปุ่ม Save & Apply

 

 

วิธีการเชื่อมต่อโดยใช้ฟังก์ชั่น Client Router

  1. ขั้นตอนการเชื่อมต่อ WISP จะเหมือนกับฟังก์ชั่น Client Bridge ทุกประการ
  2. เข้าหัวข้อ WAN Settings เลือก Internet Connection Type เป็น DHCP แล้วกดปุ่ม Apply



  3. ไปที่หัวข้อ Save/Reload กดปุ่ม Save & Accept รอจนกระทั่งอุปกรณ์บูตเรียบร้อย
  4. ตรวจสอบการเชื่อมต่อที่หัวข้อ Connection Status > WAN ว่าได้ IP มาจาก WISP หรือไม่


  5. เมื่อได้รับ IP เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการ Obtain an IP automatically เพื่อทำการรับ IP จาก Client Router และลองเข้าเว็บใดเว็บหนึ่ง จะขึ้นคำว่า Please wait while you are redirected … และจะขึ้นหน้าจอ WISP Log-in เพื่อทำการ Log-in เข้า internet ต่อไป

  6. หากยังไม่สามารถเข้าสู่หน้าจอ WISP log-in ได้ ให้พิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
  • ระยะจาก ISP Wi-Fi ไกลเกินไปหรือมีสิ่งกีดขวางมากเกินไปจน AP ไม่สามารถโต้ตอบกันได้ (สัญญาณอ่อนกว่า -100)
  • ระบบของ ISP Wi-Fi มีปัญหา

RELATED ARTICLES

    RELATED PRODUCTS